วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2559

การเสริมหน้าอก (Breast Augmentation) คือ ?

การเสริมหน้าอก (Breast Augmentation) คือ ? 
.................................................................................................................................
การเสริมหน้าอกเป็นการผ่าตัดเพื่อเพิ่ม ขนาดของเต้านมให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการเพิ่มขนาดหน้าอกนี้ก็ช่วยให้รูปร่างดีขึ้น หรือ เพื่อเป็นการ เพิ่มขนาดของเต้านมหลังจากมีบุตร หลังการให้นมบุตร เต้านมอาจจะมีความตึงน้อยลง เพื่อแก้ไขขนาด ที่แตกต่าง ของเต้านมทั้งสองข้าง แก้ไขรูปทรงที่ผิดปกติ 

การเสริมใต้เนื้อนม
ซิลิโคนทรงหยดน้ำผิวทราย
ซิลิโคนทรงกลมผิวเรียบ

ซิลิโคนนมแบบต่างๆ

ชนิดของวัสดุที่ใช้เสริมหน้าอก มีอะไรบ้าง ?.................................................................................................................................
ซิลิโคนเหลวสำหรับเสริมหน้าอก (Silicone Gel Implants)
คือ เจลอิลาสตินที่บรรจุอยู่ในถุงซิลิโคน หรือสารที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นแบบยางธรรมชาติ มีลักษณะของ เปลือกอาจจะเป็นผิวเรียบ หรือผิวขรุขระ ทำงานโดยการสอดเข้าไปภายในทรวงอกหลังการผ่านการอัลตราซาวด์ เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งซิลิโคลเจลจะมีขนาดที่แตกต่างตามความต้องการของคนไข้
ข้อดีคือ
  • ดูเป็นธรรมชาติ ยับย่นได้ยาก สามารถขยับเคลื่อนไหวได้
  • การใช้วัสดุชนินี้นั้นหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว พักเพียง 1 คืนก็สามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ
  • หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน อาจอยู่กับตัวได้ในระยะยาวและไม่เสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
ข้อควรระวัง
  • ถ้า พังพืดที่หุ้มรอบถุงไม่แตก อาจจะไม่รู้เลยว่าเกิดการรั่วขึ้น ถ้าพังพืดที่หุ้มรอบฉีกขาด ซิลิโคนเหลว จะออกมานอกถุงแล้ว อาจจะเกิดพังพืดหุ้มรอบซิลิโคนนั้นใหม่ เต้านมข้างนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป และอาจจะรู้สึกแข็งมากขึ้น
การผ่าตัด
  • โดยการสอดผ่านรักแร้ การผ่าตัดผ่านทางปานนม และการผ่าที่ฐานหน้าอก (แต่วิธีการนี้อาจทิ้งรอยแผลเป็นได้บ้าง)
ถุงน้ำเกลือสำหรับเสริมหน้าอก (Saline Implants) 
ลักษณะ ของถุงมีสองชั้น น้ำเกลืออยู่ชั้นนอก ถุงเจลอยู่ชั้นในและระหว่างผ่า สามารถเติมน้ำเกลือได้ หลังสอดเข้าไปแล้ว วิธีการนี้จึงมีราคาสูงกว่า เพราะสามารถเพิ่มลดขนาดได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหม่
ข้อดีคือ 
  • หากมีรั่วไหล น้ำเกลือจะซึมเข้ากับร่างกายโดยไม่เป็นอันตราย
  • มีรอยแผลเป็นที่เล็กกว่า และสามารถเติมน้ำเกลือได้หากต้องการ เพิ่มขนาดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหม่
ข้อควรระวัง 
  • เกิดการฉีดขาดได้ง่าย หรืออาจเกิดรอยยับย่น
  • อาจเห็นได้ชัดถึงรูปทรงของถุง
  • เกิดการสั่นไหว กระเพื่อม หรือมีเสียงได้
  • เนื้อสัมผัสต่างจากเต้านมทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
การผ่าตัด
วิธีการเสริมหน้าอกแบบนี้ จะมีการเลือกผ่าตัดได้ 3 แบบ คือ
  • แพทย์จะสอดถุงเข้าไปก่อนแล้วค่อยเติมน้ำเกลือผ่านหลอดสุญญากาศ ตามจำนวนที่กำหนดขณะผ่าตัด
  • การสอดเจลเข้าไปแล้วจึงค่อยเติมน้ำเกลือซึ่งปรับลดขนาดได้
  • การใส่ถุงน้ำเกลือที่บรรจุอยู่ในซิลิโคนที่ระบุขนาด
การฉีดไขมัน (Fat Grafting) 
เป็น การนำไขมันมาจากตัวของคนไข้เอง ไม่ว่าจากต้นขาหรือช่วงบริเวณท้องอย่างไรก็ดี วิธีการนี้ยังไม่เป็น ที่รับรอง ถึงประสิทธิภาพอย่างแพร่หลาย เนื่องจากต้องมีไขมันมากพอ และต้องฉีดบ่อยครั้งกว่าจะอยู่ตัว มากกว่านี้ หลังฉีดจะสลายตัวไป 50 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างช่วง 6 เดือน ถึง 1 ปี และประมาณ 1-2 ปีก็จะสลายไปหมด
ข้อดีคือ 
  • วิธีการเสริมหน้าอกด้วยวิธีนี้จะเกิดผลข้างเคียงน้อย และไม่มีสิ่งแปลกปลอม ทั้งยังสามารถ ลดไขมันส่วนเกินได้ ในเวลาเดียวกัน เนื่องจากเป็นการเคลื่อนย้ายไขมัน จากส่วนอื่นของร่างกายมาฉีด
ข้อควรระวัง 
  • ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ในการเตรียมไขมันที่ถูกและฆ่าเชื้อที่เหมาะสม
  • อาจไม่ได้รูปทรงของหน้าอกตรงตามที่ต้องการ
  • มีการบวมแดงในระยะเริ่มแรก
  • ยังไม่เป็นที่ยืนยันถึงความปลอดภัย โดยเฉพาะแคลเซียมของเซลล์ไขมันที่ตายแล้ว อาจไปเกาะหน้าอกได้
แผลผ่าตัดเสริมหน้าอก นั้นจะกำหนดไว้ตรงใด ?.................................................................................................................................
  • การผ่าตัดในราวนม วิธีนี้มักจะมีแผลเป็นเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากตรง กับขอบยกทรง แผลเป็นอาจจะปูดดำ
  • การผ่าตัดรอบหัวนม วิธีนี้อาจมีแผลเป็นซึ่งขยายใหญ่ได้ ดูไม่สวยงาม และอาจมีอาการชาของหัวนมได้
  • ผ่านทาง รักแร้ บาดแผลจะซ่อนอยู่ทางใต้รักแร้ไปตามรอยพับของผิวหนัง จึงมักจะไม่เห็นแผลเป็น ในบางรายจะไม่มีใครทราบได้เลยว่าได้รับการเสริมทรวงอก เพราะไม่มีแผลเป็นให้เห็น และมีความ เป็นธรรมชาติมาก
ความเสี่ยงในการเสริมหน้าอก ?.................................................................................................................................
การผ่าตัดทุกชนิดมีความ เสี่ยงที่เกิดจากการทำผ่าตัดทั่วไป เช่น เลือดออก,เลือดคั่ง,ติดเชื้อ แต่มีอัตราการเกิดประมาณ 1-5 % ผลแทรกซ้อนจากการเสริมเต้านมอาจจะเกิด การรัดตัวของ พังผืดที่อยู่รอบเต้านม ทำให้เกิดความรู้สึกแข็งผิดปกติของเต้านมข้างนั้นบางครั้ง อาจจะมี ความรู้สึกเสียว,ชา บริเวณหัวนมหรือบริเวณใกล้รอยผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้นเป็นปกติได้ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกเช่นนั้นตลอดไป ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมสามารถให้นมบุตรได้ถ้าต้องการ มีรายงานว่าผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมบางรายมีอาการปวดตามข้อต่างๆ มีไข้,อ่อนเพลีย แต่จาก การศึกษาโดยละเอียดไม่สามารถระบุความเกี่ยวพัน ระหว่างอาการเหล่านี้กับการเสริมเต้านม ได้ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการเสริมเต้านม แต่การตรวจเต้านมด้วย เอ็กซเรย์ แมมโมแกรม ต้องใช้วิธีพิเศษ
ถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแต่รั่วหรือไม่ ?
.................................................................................................................................
ถุงเต้านมเทียมมีโอกาส แตกหรือรั่วได้ ไม่เกี่ยวกับการได้รับกระแทกอย่างรุนแรง ถ้าเป็นน้ำเกลือ เต้านมด้านนั้นจะยุบลงโดยรวดเร็ว น้ำเกลือที่รั่วออกมาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่ อย่างใด ถ้าเป็นซิลิโคนเหลวจะเกิดได้ 2 กรณี อย่างแรกถ้าพังพืดที่หุ้มรอบถุงไม่แตก อาจจะไม่รู้เลยว่าเกิดการรั่วขึ้น ถ้าพังพืดที่หุ้มรอบฉีกขาดซิลิโคนเหลวจะออกมานอกถุงแล้ว อาจจะเกิดพังพืดหุ้มรอบซิลิโคนนั้นใหม่ เต้านมข้างนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป และอาจจะรู้สึกแข็งมากขึ้น
การวางแผนสำหรับการผ่าตัดเสริมหน้าอก ?.................................................................................................................................
ควรมาพบแพทย์ที่มีความ ชำนาญก่อน เพื่อให้แพทย์ที่มีความชำนาญตรวจร่างกายให้ และสภาพเต้านมของท่าน ตลอดจนการพูดคุยซักถาม และบอกความต้องการของคุณต่อแพทย์เพื่อแพทย์จะได้บอกรายละเอียดของการทำผ่า ตัดเสริมหน้าอกต่อท่าน
หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ?.................................................................................................................................
ท่านจะรู้สึกตึงปวดได้ บ้างประมาณ 2-3 วัน หลังผ่าตัดเสริมหน้าอกแล้ว รูปร่างของเต้านมจะดูเป็นธรรมชาติประมาณ 1-2 เดือน ท่านอาจจะต้องนวดเต้านมที่เสริมตามคำแนะนำของแพทย์อีกประมาณ 3-6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น